.ชิปประมวลผลกราฟิก
ชิปประมวลผล กราฟิก (Graphics Processing Unit-GPU) เรียกสั้น ๆ ว่าชิปกราฟิก เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลภาพที่จะนำมาแสดงบน หน้าจอภาพ ยิ่งชิปประมวลผลการฟิก นี้มีประสิทธิภาพดีมากซึ่งจะทำให้แสดงผลที่ซับซ้อนได้ เช่น ภาพกราฟ ฟิก 3 มิติ ซึ่งเราสามารถพบได้ในเกมส์ต่าง ๆ เป็นต้น
ประเภทของชิปประมวลผลในปัจจุบัน
เราแบ่งชิปประมวลผลที่ใช้งานอยู่ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปในปัจจุบันออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบ Integrated และแบบ Dedicated ซึ่งจะมีข้อเสียดังนี้
(1) ชิปประมวลกราฟิกแบบ Integrated
ชิปกราฟิกบางประเภทจะถูกรวมเข้า ไว้ในเมนบอร์ดของเครื่อง (Integrated) หรือที่เรียกว่าชิปกราฟิกแบบ On-Board ซึ่งมักจะไม่มีหน่วยความจำ VRAM (หน่วยความจำเฉพาะสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแสดงผล ) แยกออกมา แต่จะดึงหน่วยความจำที่เป็นระบบที่เป็น RAM มาใช้ข้อดีของชิปประมวลผลเหล่านี้คือ สามารถทำงานได้และมีราคาไม่สูงมาก นัก แต่ชิปกราฟิกแบบ Integrated น้นจะมีประสิทธิภาพการทำงาน จึงทำให้เล่นเกมได้ไม่ดีสักเท่าไหร่ (เพราะ RAM ทำงานช้ากว่า VRAM พอสมควร ดังนั้นการแชร์แบบนี้จึงมีประสิทธิภาพสู้มี VRAM แยกออกมาไม่ได้)
(2) ชิปประมวลผลกราฟฟิกแบบ Dedicated
ในปัจจุบันสำหรับผู้ใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพการแสดงผลสูง จะซื้อการ์ดแสดงผลที่ติดตั้ง ชิปประมวลผลไว้บนตัวการืดมาติดตั้งเพิ่มบนสล็อต AGP หรือสล็อตรุ่นใหม่ ๆ อย่าง PCLx (PCI Express) เป้นต้น ซึ่งจะมีหน่วยความจำ VRAM แยกออกมา (ยกเว้นบางรุ่นที่มีราคาถูกก็อาจดึงหน่วยความจำแรมของเครื่องมา ใช้) ข้อดีของชิปประมวลผลกราฟิกแบบนี้คือมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูง และสา มารถอัพเกรดหรือเปลี่ยนการ์ดตัวใหม่ มาใช้งานได้ทันที สำหรับการใช้งาน โปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ อย่าง Windows Vista ซึ่งมักต้องการประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงนัก
.......................................................................
2.จอแสดงผล
จอแสดงผลมีหน้าที่สำหรับแสดงกราฟิกสู่สายตา ของมนุษย์อุปกรณ์แสดงผลคอมพิวเตอร์กราฟิกมีด้วยกันหลายชนิดเช่นจอภาพเครื่อง พิมพ์พล็อตเตอร์โปรเจคเตอร์เป็นต้นแต่ที่นิยมใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิกกันมาก ที่สุดก็คือจอภาพและเครื่องพิมพ์จอภาพสามารถตอบสนองและแสดงผลลัพธ์ให้ปรากฏ ได้ทันทีคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีจอภาพรูปร่างของจอภาพคอมพิวเตอร์จะ คล้ายกับจอโทรทัศน์จอภาพประกอบไปด้วยจุดภาพเล็กๆเรียงต่อกันไปเป็นตาราง เรียกว่าพิกเซล(Pixel)ความละเอียดของจอภาพจะขึ้นอยู่กับจำนวนพิกเซล จอภาพในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ
1. จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) เป็นจอภาพของคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ มีหลักการยิงแสงด้วยปืนอิเล็กตรอน (Electron Gun) เช่นเดียวกับจอโทรทัศน์ ปืนอิเล็กตรอนจะมีด้วยกัน 3 กระบอกสี คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เมื่อยิงลำแสงทั้งสามผสมกันในอัตราส่วนต่าง ๆ จะปรากฏเห็นเป็นภาพสี เรืองแสงบนจอภาพ แสงที่เกิดขึ้นบนจอภาพนี้จะคงอยู่ในช่วงระยะเสี้ยววินาทีและจะดับหายไป ดังนั้นจึงต้องมีการกลับมายิงซ้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เกิดเป็นภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่กระพริบหรือขาดหายไป
2. จอแอลซีดี (Liquid Crystal Display) ใช้หลักการเรืองแสงของผลึกเหลวที่บรรจุในจอภาพเมื่อถูกกระตุ้นด้วยประจุ ไฟฟ้า จอภาพแบบนี้ไม่จำเป็นต้องมีปืนอิเล็กตรอน ดังนั้นจึงมีโครงสร้างที่แบนราบ กินไฟน้อย มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับการพกพา แต่มีราคาแพง จอภาพชนิดนี้ยังแบ่งออกเป็นอีก 2 ชนิด คือ ชนิด Passive Matrix มีราคาต่ำกว่า แต่มีความคมชัดน้อย เมื่อมองจากบางมุมอาจมองไม่เห็นภาพบนจอภาพ ส่วนอีกชนิดหนึ่งคือ Active Matrix มีราคาสูงกว่า แต่มีความคมชัดและแก้ปัญหาการมองไม่เห็นภาพบางมุมได้ดีขึ้น
................................................................................
3. Sound Card (การ์ดเสียง) เสียงเป็นส่วนสำคัญของระบบมัลติมีเดียไม่น้อยกว่าภาพดังนั้นการ์ดเสียงจึง เป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียการ์ดเสียงได้รับ การพัฒนาคุณภาพอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน น้อยที่สุด ตลอดจนระบบเสียง 3 มิติในปัจจุบันความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลัก2ประการคืออัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของA/DConverterว่ามี ความละเอียดมากน้อยเพียงใดทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้ เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุดความละเอียดของA/DConverterนั้นถูกกำหนดโดย จำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุตเช่น
- A/D Converter 8 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือประสิทธิภาพที่ของเสียง
ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย
..................................................................................
4. ลำโพง
ลำโพง(Speaker)เป็นอุปกรณ์แสดงเสียงโดยการ แปลงสัญญาณไฟฟ้าที่ได้จากการ์ดเสียงได้เป็นพลังงานเสียงที่ไพเราะดังนั้น คุณภาพเสียงที่ได้จะไม่ขึ้นอยู่กับการ์ดเสียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่แท้ ที่จริงแล้วการขับพลังเสียงของลำโพงก็มีผลต่อการให้กำเนิดเสียงที่ไพเราะ
ลำโพงแบบฟลูเรนจ์ (Full Range)
ลำโพงที่นิยมซื้อใช้กับคอมพิวเตอร์โดย ทั่ว ๆ ไปนั้น จะเป็นลำโพงแบบฟลูเรนจ์ (Full Range) ซึ่งจะตอบสนองความถี่เสียงแบบกว้าง ๆ ซึ่งยังขาดความถี่ในช่วงที่เป็นความถี่ต่ำ และความถี่สูงได้ทั้งหมด
ลำโพงพร้อม Subwoofer
สำหรับผู้ที่ชอบเสยง นุ่ม ๆ และเสียงแหลมใส ควรเลือกซื้อชุดลำโพงที่แยกเสียงเบส และเสียงแหลมที่ชัดเจน ซึ่ง Subwoofer จะเป็นการแยกลำโพงออกเป็น 3 จุด คือ แยกเป็นเสียงซ้าย-ขวา และลำโพงตัวกลางสำหรับแสดงเสียงทุ่ม
ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง
ชุดลำโพงสำหรับโฮมเธียเตอร์ เพื่อให้ได้เสียงแบบรอบทิศทาง (Surround System) ทั้งระบบ DTS และ Dolby Digital Surround โดยมีลำโพงวางอยู่รอบทิศทางหลาย ๆ จุด โดยภายในชุดลำโพง จะต้องมีชุดขยายเสียง (Amplifier) ที่จะขับพลังเสียงให้กับลำโพง โดยเราสามารถปรับระดับความดังของเสียงได้ที่ Volume และปรับคุณภาพเสียง ทุ่ม กลาง และแหลม เพื่อคุณภาพของเสียงที่ได้อีกด้วย
......................................................................................
5. เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่อง พิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยผ่านพอร์ตขนานที่มีขนาด 25 พิน เพื่อทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการ ประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักษร หรือรูปภาพที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์นี้ใช้หลักการสร้างจุดลงบนกระดาษโดยตรงหัวพิมพ์ของ เครื่องพิมพ์มีลักษณะเป็นหัวเข็ม(pin)เมื่อต้องการพิมพ์สิ่งใดลงบนกระดาษหัว เข็มที่อยู่ในตำแหน่งที่ประกอบกันเป็นข้อมูลดังกล่าวจะยื่นลำหน้าหัวเข็ม อื่นเพื่อไปกระแทกผ่านผ้าหมึกลงบนกระดาษก็จะทำให้เกิดจุดความคมชัดของข้อมูล บนกระดาษขึ้นอยู่กับจำนวนจุดถ้าจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลที่พิมพ์ลงบนกระดาษก็ ยิ่งคมชัดมากขึ้นเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์เหมาะสำหรับงานที่พิมพ์แบบฟอร์มที่ ต้องการซ้อนแผ่นก๊อปปี้หลายๆชั้น
เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ใช้กระดาษต่อเนื่องในการพิมพ์เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะยัง คงมีใช้อยู่ตามองค์กรราชการ
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
เครื่องพิมพ์พ่นหมึกสามารถพิมพ์ตัวอักษรที่มีรูปแบบและขนาดที่แตกต่างกัน มากๆรวมไปถึงพิมพ์งานกราฟิกที่ให้ผลลัพธ์คมชัดกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ เทคโนโลยีที่เครื่องพิมพ์พ่นเป็นการพ่นหมึกหยดเล็กๆไปที่กระดาษหยดหมึกจะมี ขนาดเล็กมากแต่ละจุดจะอยู่ในตำแหน่งที่เมื่อประกอบกันแล้วจะเป็นตัวอักษร หรือรูปภาพตามความต้องการการพิมพ์แบบนี้จะพิมพ์แบบซ้อนแผ่นก๊อปปี้ไม่ได้แต่ มีความสามารถพิมพ์ได้รวดเร็วและเสียงไม่ดังมีหน่วยวัดความเร็วเป็นในการ พิมพ์เป็นหน้าต่อนาทีPPM(PagePerMinute)ความสามารถของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้ ถูกพัฒนามาให้มีประสิทธ์ขึ้นเลื่อยๆ นั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน แต่ต้องมีกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นปัจจัยด้วยเช่นกัน ณปัจจุบัน(2545)ความสามารถของเครื่องพิมพ์นั้นสูงสุดถึง 4800x1200 dpi (Dot per inch)
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
เครื่องพิมพ์ชนิดนี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์เบบเดียวกันกับเครื่องถ่าย เอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุนเพื่อสะท้อนไปยัง ลูกกลิ้งไวแสงซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกวาดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบที่อยู่บนลูกกลิ้งจะ ไปทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลาย ติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างถูกต้อง
ทำให้ความละเอียดของจุดภาพบนกระดาษสูงมากงานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูงทำให้ได้ ภาพ และตัวหนังสือที่คมชัดสวยงามการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์เสียงจะไม่ดัง
4. พล็อตเตอร์ (plotter)
พล็อตเตอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆลงบนกระดาษที่ทำมา เฉพาะงานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรมและงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิกพล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษโดย สามารถใช้ปากกาได้68สีความเร็วในการทำงานของพล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้ว ต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ